ขายตรง’ทำประกัน0.5% เอกชนโวยเพิ่มภาระเกินไป

หน้าแรก » อาหาร และ สุขภาพ » บริการด้านสุขภาพ

ขายตรง’ทำประกัน0.5% เอกชนโวยเพิ่มภาระเกินไป

แบ่งปันให้เพื่อน



‘รมต.วรวัจน์’สั่งสคบ.
บีบคอ‘บ.ขายตรง’ทำประกัน0.5%
เอกชนโวยเพิ่มภาระเกินไป                         ผู้ประกอบการขายตรงเครียดขึ้นสมองหลังถูก “วรวัจน์เอื้ออภิญญกุล” รมต.ประจำสำนักนายกฯมีใบสั่งให้สคบ. บีบคอ ‘บริษัทขายตรง’ ซื้อประกันสินค้ากับ “ทิพยประกันภัย” คิดค่าเบี้ยประกันภัยร้อยละ 0.1 – 0.5 จากยอดขายแต่ละปีเพื่อเป็นการเยียวยาให้แก่ผู้บริโภคโดยเอา “ตราสัญลักษณ์คุ้มครองผู้บริโภค” มาเป็นตัวล่อ “พญ.นลินีไพบูลย์” เจ้าแม่ขายตรงค่ายกิฟฟารีนลั่นกลางที่ประชุมบริษัทขายตรงทุกค่ายมีระบบประกันคุณภาพสินค้าอยู่แล้วหากต้องจ่ายเบี้ยประกันปีละ 20 กว่าล้านบาทถือเป็นการแบกภาระซ้ำซ้อนที่หนักอึ้ง “ทิพยประกันภัย” ลูบปากหวานหมูหากโครงการนี้สำเร็จเชื่อเม็ดเงินสะพัดเป็นพันๆล้านบาทด้าน “วรวัจน์เอื้ออภิญญกุล” รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีตอกย้ำหนักแน่นถือเป็นการสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้บริโภคและเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจขายตรง
กลายเป็นข่าวประเด็นร้อน...ขึ้นมาทันที เมื่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) นัดประชุมผู้ประกอบการขายตรงแบบ “ฉุกเฉิน” ตามใบสั่งของ “วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล” รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ หลัง “นิ โรธ เจริญประกอบ” เลขาฯ สคบ.พ้นตำแหน่งไปเพียงสัปดาห์เดียว เพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่อง “ตราสัญลักษณ์คุ้มครองผู้บริโภค” ของธุรกิจขายตรง ประจำปี 2555 เพื่อมอบให้กับบริษัทขายตรงที่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่ สคบ.กำหนดไว้ แต่ขณะเดียวกันก็ได้ระบุว่าผู้ประกอบการธุรกิจดังกล่าวจะได้ตราสัญลักษณ์ที่ ว่านั้น จะต้องทำประกันภัยกับบริษัท ทิพยประกันภัย โดยคิดเบี้ยประกันในอัตราร้อยละ 0.1 – 0.5 จากราคาสินค้า เพื่อเป็นการเยียวยาแก่ผู้บริโภค กรณีไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือได้รับความเสียหายจากสินค้าและบริการ
ในการสัมมนาดังกล่าว นายสุวิทย์ วิจิตรโสภา ผู้อำนวยการส่วนขายตรงและตลาดแบบตรง สคบ. ซึ่งเป็นวิทยากร กล่าวว่า ในการกำหนดหลักเกณฑ์ขอรับตราสัญลักษณ์ ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ทุกข้อ และในส่วนของการจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยนั้น เบื้องต้นเห็นว่า น่าจะคิดในอัตราร้อยละ 0.1 – 0.5 จากราคาสินค้า 
ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า เงื่อนไขต่าง ๆ ไม่มีการชี้แจงรายละเอียด และเหตุผลในการคำนวณค่าเบี้ยประกันให้ชัดเจน แต่อย่างใด ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่คิดไปว่า อาจคำนวณมาจากยอดขายแต่ละปีของบริษัทขายตรงนั้น ๆ เรื่องนี้ “พญ.นลินี ไพบูลย์” ประธานกรรมการ บริษัท กิฟฟารีน สกายไลน์ ยูนิตี้ จำกัด ได้ลุกขึ้นแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาว่า การรับผิดชอบในส่วนของสินค้า หรือบริการ บริษัทขายตรงต่างก็ได้มีการรับประกันสินค้าไว้อยู่แล้ว เชื่อว่าทุกบริษัทก็มีได้ดำเนินการในเรื่องนี้ ซึ่งผู้บริโภคสามารถคืนสินค้าได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้  ดังนั้น หากต้องจ่ายเบี้ยประกันภัย ในส่วนนี้เพิ่มอีกนั้นเห็นว่า จะเป็นการเพิ่มภาระให้กับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ บริษัท กิฟฟารีน เองหากจะต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันตามราคาสินค้า ก็คงต้องจ่ายปีละประมาณ 20 กว่าล้านบาท  ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ซ้ำซ้อน
“อย่างไรก็ตามเห็นว่า มาตรการของ สคบ.ก็เป็นสิ่งที่ดี แต่หากเก็บเบี้ยประกันจากราคาสินค้า อยากขอแค่ตราสัญลักษณ์คุ้มครองผู้บริโภคอย่างเดียวได้หรือไม่ !” พญ.นลินีกล่าวทิ้งท้ายแล้วเดินออกห้องสัมมนาไป
หลังจากจบงานสัมมนา บรรดาผู้ประกอบการธุรกิจขายตรง ต่างก็ยืนวิพากษ์วิจารณ์กันหลากหลาย บางรายตั้งข้อสังเกตว่า สคบ.ใช้หลักเกณฑ์ใดในการพิจารณา เนื่องจากการเก็บเบี้ยประกัน เพื่อเยียวยาผู้บริโภค น่าจะดูจากจำนวนการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากการใช้สินค้า และบริการของแต่ละบริษัทมาเป็นเกณฑ์คำนวณในการเก็บเบี้ยประกันมากกว่า
ผู้ประกอบการรายหนึ่งกล่าวกับ “ตลาดวิเคราะห์” ว่า ความคิดนี้ไม่น่าจะเกิดจาก สคบ.เพียงอย่างเดียว ต้นตอน่าจะมาจากข้อเสนอของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ มากกว่า ถึงกับดึงผู้บริหารระดับสูงของ บริษัท ทิพยประกันภัยฯ มาเป็นตัวชูโรงออกนอกหน้าอย่างนี้  อาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนไม่ทางตรงก็ทางอ้อมหรือไม่อย่างไร จึงมาใช้มาตรการยี้เพื่อบีบให้บริษัทขายตรงต้องเป็นผู้แบกภาระในเรื่องนี้ ทั้ง ๆ ที่กฎหมายขายตรงก็ระบุไว้ชัดเจนว่า สมาชิกไม่พอใจสินค้าสามารถนำมาคืนบริษัทได้ภายใน 7 วัน ซึ่งแต่ละบริษัทก็ดำเนินการตามอยู่แล้ว หากภาครัฐจะบังคับยี้ให้ผู้ประกอบการทำประกันแบบมัดมือชก โดยเอาตราสัญลักษณ์มาเป็นข้ออ้างอย่างนี้ เชื่อว่าจะมีบริษัทเดือดร้อนจำนวนมาก และน่าจะมีเม็ดเงินหมุนเวียนปีละไม่ต่ำกว่า 1,500-2,000 ล้านบาท จากบริษัทขายตรงที่จดทะเบียนกับ สคบ.กว่า 600 ราย”  
นอกจากนี้ ผู้บริหารบริษัทขายตรงข้ามชาติรายหนึ่ง ก็ได้ตั้งคำถามผ่าน “ตลาดวิเคราะห์” เช่นเดียวกันว่า “บริษัทได้ทำประกันภัยไว้อยู่แล้วจำเป็นต้องทำประกันตามที่ สคบ.กำหนดเพิ่มอีกหรือไม่ แล้วจะมีสิทธิได้รับตราสัญลักษณ์ด้วยหรือไม่ ดังนั้น เรื่องนี้น่าจะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อพิจารณาในรายละเอียดให้เกิด ความชัดเจน และเป็นที่ยอมรับได้ของทุกฝ่ายก่อน”
นายนพปฎล เมฆเมฆา รองเลขาฯ สคบ. ปัจจุบันเป็น รักษาการเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สคบ. กล่าวว่า มาตรการที่ให้ผู้ประกอบการธุรกิจขายตรง ทำประกันภัยนั้นเป็นการสร้างความเชื่อมั่น ความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจขายตรง อีกทั้งจะช่วยลดขั้นตอนการฟ้องร้องของผู้บริโภค ซึ่งผู้บริโภคจะได้ประโยชน์และรับการคุ้มครองดูแลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น หากมีการยื่นคำร้องมาทาง สคบ.จะพิจารณา ถ้าเห็นว่าสมควรชดเชย ทางบริษัท ทิพยประกันภัย จะจ่ายค่าเสียหาย หรือค่าชดเชยให้กับผู้บริโภคในทันที
“หลังจากนี้ สคบ. จะเดินสายไปตามสมาคม หรือบริษัทที่เป็นแกนหลักของธุรกิจขายตรง เพื่อรับฟังความคิดเห็น เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ขอรับตราสัญลักษณ์ สคบ.  รวมถึงการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการกำหนดค่าเบี้ยประกัน ซึ่งคาดว่าน่าจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน นับจากนี้ไป ทาง สคบ.เองก็ต้องฟังเสียงผู้ประกอบการเช่นกันว่าจะทำอย่างไรต่อไป เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบในวงกว้างทั้งผู้ประกอบการ และสมาชิก คือ ทุกฝ่ายต้องอยู่ร่วมกันได้ด้วยความเป็นธรรม” รักษาการ เลขาฯ สคบ.กล่าว 
นายสมพร สืบถวิลกุล  กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด มหาชน กล่าวว่า  ในการพิจารณาเบี้ยประกันภัยจะดูจากประวัติ ความเสี่ยงของบริษัท รายได้จากการขายสินค้า หรือองค์กร ซึ่งพื้นฐานในการพิจารณาเบี้ยประกันจะเท่ากัน แต่องค์ประกอบความเสี่ยงต่างกัน ดังนั้นบริษัทใดที่มีความเสี่ยงน้อย ก็จะเสี่ยงเบี้ยประกันน้อยลง หากบริษัทใดมีความเสี่ยงมากอัตราเบี้ยประกันก็จะสูง  
สำหรับการชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้บริโภคนั้น ทางบริษัท ทิพยประกันภัย จะไม่เข้าไปมีส่วนการตัดสินในเรื่องดังกล่าว โดยจะเป็นหน้าที่ของ สคบ. หากตัดสินว่าให้มีการชดเชย ทางทิพยประกันภัยก็จะจ่ายชดเชยให้กับผู้เสียหายทันที โดยจะถือการพิจารณาของ สคบ.เป็นคำชี้ขาด 
จากการที่บริษัท ทิพยประกันภัย เป็นบริษัทเดียว ที่เข้ามารับประกันภัยแบบไร้คู่แข่ง หากมองแบบไม่คิดมาก เพราะว่าเป็นบริษัทประกันของรัฐ  จึงไม่น่าจะมีอะไรที่ซับซ้อนในการรับประกันในครั้งนี้  แต่เรื่องนี้อาจมองไปในทางผลประโยชน์ทับซ้อน ผู้คนก็อาจจะมองไปในทางนั้นก็เป็นได้ เพราะ ที่ผ่านมาบริษัท ทิพยประกันภัย ต้องควักเงินออกมาจ่ายค่าสินไหมให้กับลูกค้าทั้งรายเล็ก รายใหญ่ มาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงช่วงที่ประเทศไทยเกิดปัญหาน้ำท่วมหนัก
และล่าสุดโรงกลั่นน้ำมันบางจาก เกิดไฟไหม้ ซึ่งมูลค่าความเสียหายเป็นหลักพันล้านบาท  และบริษัททิพยประกันภัย ก็เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่เข้ารับทำประกันไว้เช่นกัน ดังนั้น จึงอยู่ในช่วงสถานภาพทางการเงินของบริษัทที่ไม่สู้จะดีนัก และอาจจะเป็นจังหวะและเวลาพอดี การที่ “วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล” รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแล สคบ. มีส่วนสำคัญในการผลักดันโปรเจ็กต์นี้ขึ้นมา หากเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ก็จะช่วยพยุงฐานะทางการเงินของบริษัท ทิพยประกันภัย ได้ระดับหนึ่งก็อาจเป็นได้
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รมต.ประจำสำนักนายฯ เปิดเผยภายหลังว่า ถือเป็นมาตรการที่ช่วยสร้างความมั่นคง และสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจขายตรง ส่วนการให้บริษัท ทิพยประกันภัย เข้ามารับประกันในครั้งนี้ เป็นเพียงการนำร่องเท่านั้น ในอนาคตอาจจะมีบริษัทประกันรายอื่นเข้ามาร่วมรับทำประกันเพิ่มก็เป็นได้  ตอนนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ หากเสร็จสิ้นก็จะต้องนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป
จากมาตรการดังกล่าวนี้ ทำให้ผู้บริหารบริษัทขายตรงรายหนึ่งตั้งข้อสังเกตผ่าน “ตลาดวิเคราะห์” ว่า รายการนี้ “หากโครงการนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ยิ่งจะเสริมบารมีให้กับนายวรวัจน์อีกทางหนึ่ง จริงอยู่แม้รัฐมนตรีท่านนี้จะมองว่า อุตสาหกรรมขายตรงไทยที่มีมูลค่านับแสนล้านบาท เมื่อเทียบกับ GDP ของประเทศมีมูลค่าเพียงนิดเดียว แต่การทำงานที่ผ่านมาของ “นายวรวัจน์” ที่ผ่านมายังไม่ปรากฏผลงานด้านไหนเป็นที่ประจักษ์มากนัก อาจทำให้ “น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” นายกรัฐมนตรี ปรับออกจากตำแหน่ง หากมีการปรับ ครม.ที่จะมีขึ้นในอีกไม่ช้านี้ก็อาจเป็นได้
อย่าลืมว่า กระแสการปรับคณะรัฐมนตรีภายในพรรคเพื่อไทยยังเป็นคลื่นใต้น้ำ เพราะอดีตรัฐมนตรีชุดที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองบ้านเลขที่ 111 พร้อมจะกลับเข้ามาทวงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีได้ทุกเมื่อ ขณะเดียวกัน  “น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” นายกรัฐมนตรี ก็ยังรักษาท่าที ไม่ยืนยันว่าจะมีการปรับคณะรัฐมนตรีรอบใหม่เวลาไหน กระทรวงไหนบ้าง
ดังนั้น รัฐมนตรีชุดปัจจุบันจำเป็นต้องรักษาตำแหน่งให้ถึงที่สุด โดยพยายาม “หางาน” และมอบหมาย “ใบสั่ง” ให้กับหน่วยงานในสังกัดที่กำกับดูแลเร่งดำเนินการออกมาสู่สาธารณชนให้มากที่ สุด  “นายวรวัจน์” ก็รู้ตัวเองไม่น้อยว่า ตนเองก็อยู่ในข่ายนั้นด้วย เพราะเคยถูกย้ายออกจากกระทรวงใหญ่อย่างศึกษาธิการมาแล้วครั้งหนึ่ง  แม้ในใจลึกของ “นายวรวัจน์” จะถูกดูแคลนธุรกิจขายตรงว่าไม่ค่อยใสสะอาด ถึงกับพูดกลางงานสัมมนาเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา แบบไม่ไว้หน้าใคร แต่ก็ไม่ปฏิเสธที่จะรับผลงานจากบริษัทขายตรงแต่อย่างใด
ต้องจับตาดูดีๆ... การที่ “วรวัจน์ เอื้ออภิญญากุล”  ออกมาแอ็คชั่นในเรื่องนี้เต็มอัตราศึก โดยใช้มาตรการเข้มเรียกเก็บเบี้ยประกันจากกลุ่มธุรกิจขายตรงนั้น เป็นความพยายามที่จะผลักดันผลงานชิ้นโบว์แดงให้ออกมาเป็นรูปธรรม แต่ถ้าจะคิดตามสไตล์ของฝ่ายค้าน ย่อมคิดไปในทางตรงกันข้าม นั่นหมายความว่า งานนี้อาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่อย่างไร โดยใช้เอกชนเป็นเครื่องสังเวย  ดีไม่ดี สส.ประชาธิปัตย์อาจหยิบยกเรื่องนี้ไป “ถล่ม” รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯท่านนี้ ด้วยการยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในเดือนสิงหาคมนี้ก็อาจเป็นไปได้เช่น กัน

More information
www.klifegroup.usana.com
www.fb.me/klifegroup
 


 


ยี่ห้อ: usanaรุ่น: usana thailand
ราคา: ต้องการ: ขาย
ติดต่อ: klifeอีเมล์: 
สภาพ: ใหม่ จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โทรศัพย์: IP Address: 210.213.57.97
มือถือ: 0825143450 เลขบัตรประชาชน: 3240100497XXX
ที่อยู่: bkk

คำค้น: 



ดูสินค้าอื่นๆ | ลงประกาศ | เลื่อนประกาศขึ้น | ลบประกาศ | แก้ไขประกาศ

[ รับจำนอง ขายฝาก บ้าน ที่ดิน ทั่วประเทศ กู้เงินง่าย ได้เงินไว ไม่เช็คแบล็คลิส ]





ประกาศอื่นๆในหมวดหมู่เดียวกัน 20 รายการ (แสดงทั้งหมด)

รูป   รายละเอียด ราคา
  1,850 บาท
  1,134
  1,850 บาท
  0 บาท
  1,000 บาท
  1,220 บาท
  0 บาท
  1,000 บาท
  100 บาท
  380
  ฟรี
  ไม่ระบุ
  ไม่ระบุ
  0 บาท
  ราคาส่ง**
  โทรถาม
  2,600
  ไม่ระบุ
  ราคาถูก
  ไม่ระบุ