@@@@ เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ (หลวงพ่อโต) วัดไชโยวรวิหาร (วัดเกษไชโย) อ่างทอง ปี 2495 สภาพสวยมากส่งประกวดล่ารางวัลได้เลย.. เลียมพลาสติกกันน้ำอย่างดี รับประกันความแท้100 %พร้อมบัตรรับรอง @@@@

หน้าแรก » พระเครื่อง และ ของสะสม » พระเครื่อง / วัตถุมงคล

@@@@ เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ (หลวงพ่อโต) วัดไชโยวรวิหาร (วัดเกษไชโย) อ่างทอง ปี 2495 สภาพสวยมากส่งประกวดล่ารางวัลได้เลย.. เลียมพลาสติกกันน้ำอย่างดี รับประกันความแท้100 %พร้อมบัตรรับรอง @@@@

แบ่งปันให้เพื่อน



@@@@ เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ (หลวงพ่อโต) วัดไชโยวรวิหาร (วัดเกษไชโย) อ่างทอง ปี 2495 สภาพสวยมากส่งประกวดล่ารางวัลได้เลย.. เลียมพลาสติกกันน้ำอย่างดี รับประกันความแท้100 %พร้อมบัตรรับรอง @@@@

เป็นเหรียญที่สร้างในคราวสร้างเขื่อนปีพ.ศ.๒๔๙๕ ด้านหน้าเป็นหลวงพ่อวัดไชโย ด้านหลังเป็นยันต์ห้า พิธีใหญ่มาก เกจิเก่งๆทั้งนั้นครับ เช่นหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อรุ่ง ท่ากระบือ หลวงพ่อเงิน หลวงพ่อเต๋ ฯลฯลฯ

ประวัติ พระมหาพุทธพิมพ์ (หลวงพ่อโต) วัดไชโยวรวิหาร

หลวงพ่อโต วัดไชโย"พระมหาพุทธพิมพ์" หรือ "หลวงพ่อโต" แห่งวัดไชโยนี้ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวอ่างทองและจังหวัดใกล้เคียง ให้ความเลื่อมใสศรัทธามาก พระมหาพุทธพิมพ์ ประดิษฐานในวิหารวัดไชโยวรวิหาร ต.ไชโย อ.ไชโย จ.อ่างทอง

มีพุทธลักษณะ เป็นศิลปะรัตน โกสินทร์ ปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ ขนาดหน้าตัก 8 วา 7 นิ้ว ก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทอง ด้วยเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม

สมเด็จพระพุฒาจารย์หรือที่เรียกกันติดปากว่าสมเด็จโตนั้น สร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่โตสมนามของท่านมาก่อนนี้แล้วสององค์ คือ พระนอนที่วัดสะตือ จ.พระนครศรีอยุธยา และพระยืนที่วัดอินทรวิหาร เขตบางขุนพรหม

เมื่อมาสร้างหลวงพ่อโตที่วัดไชโยนี้ แรกทีเดียวท่านสร้างเป็นพระนั่งขนาดใหญ่มาก ก่อด้วยอิฐและดินแต่ไม่นานก็ทลายลง ท่านจึงสร้างขึ้นอีกครั้ง ครั้งนี้ ใช้วิธีเดิมแต่ลดขนาดให้เล็กลงก็สำเร็จเป็นพระปางสมาธิองค์ใหญ่ถือปูนขาว ไม่ปิดทอง

ปรากฏในพระราชหัตถเลขาพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "...พระใหญ่ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สร้างนี้ รูปร่างหน้าตาไม่งามเลย...ดูที่หน้าวัด ปากเหมือนท่านขรัวโตไม่มีผิด ถือปูนขาวไม่ได้ปิดทอง ทำนองท่านไม่คิดจะปิดทอง จึงได้เจาะท่อน้ำไว้ที่พระหัตถ์..."

ต่อมา เจ้าพระยารัตนบดินทร์ (บุญรอด กัลยาณมิตร) สมุหนายก มีศรัทธาสร้างพระอุโบสถและพระวิหารวัดไชโย แต่เมื่อกระทุ้งรากพระวิหาร แรงสั่นสะเทือนทำให้องค์พระพังทลายลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ นายช่างฝีมือเยี่ยมสมัยนั้นมาช่วย

เมื่อพิจารณาแล้วทรงให้รื้อองค์พระ ออกทั้งองค์แล้ววางรากฐานใหม่ ใช้วิธีวางโครงเหล็กยึดไว้ภายในแล้วก่อขึ้นเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิซ้อนพระ หัตถ ตามลักษณะที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ทำไว้เดิม เมื่อแล้วเสร็จได้รับพระราชทานนามว่า พระมหาพุทธพิมพ์ ซึ่งคือ หลวงพ่อโต วัดไชโยองค์ที่ปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโต เป็นที่ประจักษ์กันดีในหมู่ชาวเมืองอ่างทองที่เคารพนับถือ กล่าวกันว่า ผู้ที่ก่อกรรมทำชั่วไว้มาก จะไม่สามารถเข้าไปกราบนมัสการหลวงพ่อโตได้ เนื่องจากเมื่อเข้าใกล้องค์พระ จะเห็นว่าหลวงพ่อโต กำลังจะล้มลงมาทับ

น้ำมนต์ของหลวงพ่อก็กล่าวกันว่าศักดิ์สิทธิ์สามารถรักษาแก้ไขโรคเคราะห์ ต่างๆ ได้ ทั้งเล่าลือกันว่าหลวงพ่อมักมาเข้าฝันผู้ที่เคารพบูชาบอกกล่าวเตือนภัยต่างๆ ชาวบ้านแถบนั้นจึงมักมีรูปท่านไว้กราบไหว้บูชาแทบทุกครัวเรือน

วัดไชโยวรวิหาร จ.อ่างทอง นอกจากเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโตอัน ศักดิ์สิทธิ์และมีขนาดใหญ่มหึมา วัดแห่งนี้ ยังมีสถาปัตยกรรมของโบสถ์ วิหาร และภาพจิตรกรรมให้ชมอีกด้วย ที่สำคัญตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มีทิวทัศน์สวยงามให้ความรู้สึกสงบร่มเย็น

วัดไชโยวรวิหาร ไม่ปรากฏหลักฐานว่า สร้างขึ้นเมื่อใด ชาวบ้านเรียกวัดไชโย หรือเกษวัดไชโย ได้รับการบูรณะในสมัยรัชกาลที่ 4 และเป็นที่รู้จักเมื่อ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี แห่งวัดระฆังฯ ฝั่งธนบุรี ดำริให้สร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง

ด้วยเหตุที่วัดนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งเจ้าพระยา จึงมองเห็นองค์พระพุทธรูปขาวเด่นแต่ไกลเพราะพอกด้วยปูนขาว ต่อมาในปี พ.ศ.2430 รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะจากวัดราษฎร์ ให้เป็นพระอารามหลวง พระอุโบสถวัดไชโย เป็นอาคารที่อยู่ต่อเนื่องกับวิหารหลวงพ่อโต มีทางเดินเชื่อมไปยังริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีการประดับตกแต่งอย่างเป็นระเบียบและสวยงาม

ภายในพระอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานพระประธานปางสมาธิ ที่ผนังมีภาพจิตร กรรมสวยงาม โดยด้านหลังพระประธานเขียนเป็นรูปเหล่าทวยเทพล่องลอยในปุยเมฆ ต่างหันหน้าสู่องค์พระประธาน ที่บานประตู หน้าต่าง เขียนเป็นภาพเครื่องตั้ง เป็นการประดับตกแต่งโต๊ะโดยนำเครื่องถ้วยชามกังไส รวมถึงผลหมากรากไม้มงคลอย่างจีน มาตกแต่งบนโต๊ะประกวดกันตามงานต่างๆ เป็นที่นิยมในหมู่เจ้านายในสมัยรัชกาลที่ 5

ผู้ที่ต้องการเดินทางมาไหว้พระมหาพุทธพิมพ์ ที่วัดไชโย สามารถเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว จาก อ.ไชโย ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 ไปทาง อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี ประมาณ 8 กิโลเมตร ข้ามสะพานข้ามคลองมหานามไป 500 เมตร จะถึงทางแยกซ้ายมือ เลี้ยวเข้าไปจนข้ามสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงสี่แยกให้เลี้ยวขวาเข้าไป 200 เมตร ทางเข้าวัดอยู่ขวามือ หรือรถประจำทาง ขึ้นรถสายอ่างทอง-วัดไชโย-วัดพิกุลทอง ไปถึงอย่างแน่นอน


  


ราคา: พิเศษโทรสอบถามต้องการ: ขาย/ให้เช่า/แลก
ติดต่อ: Watอีเมล์: 
สภาพ: มือสอง จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โทรศัพย์: 081-306-8434IP Address: 125.24.255.207

คำค้น:  เหรียญหลวงพ่อโตวัดไชโย | เหรียญหลวงพ่อโต วัดไชโย ปี17 | เหรียญหลวงพ่อไชโย | หลวงพ่อเสียน วัดมะนาวหวาน "หลวงพ่อเสียน" | หลวงพ่อโต | เลี่ยมพระพลาสติก | เหรียญทอง หลวงพ่อไชโย |



ดูสินค้าอื่นๆ | ลงประกาศ | เลื่อนประกาศขึ้น | ลบประกาศ | แก้ไขประกาศ

[ รับจำนอง ขายฝาก บ้าน ที่ดิน ทั่วประเทศ กู้เงินง่าย ได้เงินไว ไม่เช็คแบล็คลิส ]





ประกาศอื่นๆในหมวดหมู่เดียวกัน 20 รายการ (แสดงทั้งหมด)

รูป   รายละเอียด ราคา
 
 
  7,000,000 บาท
  700 บาท
  ไม่ระบุ
  1,500
  6,500
  400
  699
 
  0 บาท
  111,111 บาท
  7,500
  59,000
  3,000
  3,850
  1,000,000
  300
  29,000
  ไม่ระบุ